เข้าป. 1 สิงคโปร์ อาจไม่ต้องสอบ AEIS

ปกติแล้ว หากเราอยากเข้าเรียนที่สิงคโปร์ เรา(IS = International student) จะต้องสอบ Admissions Exercise for International Students (AEIS) หรือข้อสอบที่มีไว้สำหรับนักเรียนต่างชาติ ที่อยากเข้ามาเรียนที่สิงคโปร์ จะสามารถสอบ เพื่อเข้าได้ระดับชั้น ป.2 – .3 ได้

แต่หากเราอยากเข้าไปเรียนที่สิงคโปร์ตั้งแต่ป.1ละ?
สิงคโปร์จะมีการเปิดรับให้สมัคร Primary 1 registration for international students ได้ โดยจะรอให้เด็กนักเรียนที่เป็น Singaporean and Permanent residents ก่อน ส่วนของเรา จะสามารถลงทะเบียนได้ตอนประมาณต้นเดือน มิถุนายน ของทุกปี ซึ่งจะเรียกอันนี้ว่า Phrase 3 of the P1 Registration Exercise ค่ะ 

เด็กๆจะเริ่มสมัครได้ตอนน้องอายุ 6+ขวบ หรือนับจาก 6ขวบณ.วันที่ 1มกราคม ของปีชั้นการศึกษาที่จะเข้าเรียนค่ะ

ข้อมูลเพิ่มเติม
ลองดู Link ของ MOE ดูนะคะ
https://www.moe.gov.sg/primary/p1-registration/international-students

ส่วนน้องๆที่อายุเกินแล้ว ลองสอบ AEIS / S-AEIS กันดูค่ะ 

จากที่โหล่สู่ท็อป ร.ร.ชั้นนำ!! ไขไอคิว “ครูเบล” อดีตเด็ก 16 ทุน จาก 10 ประเทศ ใน 5 ปี

“เรียนรู้ทุกอย่างในชีวิตที่โอกาสให้” เจาะใจ “ครูเบล” ติวเตอร์คนเก่ง อดีต นร.ไทยผู้มีผลการเรียนอันดับ 1 ใน ร.ร.สิงคโปร์ และผู้หญิงคนแรกที่ได้ 16 ทุนแลกเปลี่ยนภายใน 5 ปี สะท้อนการศึกษาไทย ยิ่งแข่งขันสูง ติวเตอร์ยิ่งบูม!!

จากเด็กหลังห้อง ร.ร.ไทย สู่อันดับ 1 ร.ร.สิงคโปร์

“ตั้งแต่ ป.1 ยัน ป.4 เบลเป็นเด็กที่เรียนหนังสือไม่เก่ง ก่อนไปเรียนที่สิงคโปร์ เบลเรียนที่โรงเรียนไทยมี 60 คนในห้อง เบลสอบได้ประมาณที่ 55 เราไม่ได้ตั้งใจที่จะเรียนหนังสือให้เก่ง แค่ว่าพอเราเคยสอบได้ครั้งแรกได้ดี มันก็เหมือนมีความภูมิใจ เราก็เลยอยากจะรักษาตรงนั้นเอาไว้ ต่อมาก็เลยพยายามเรียนให้ดี”

“เบล – ศุภนุช ชือรัตนกุล” หรือที่รู้จักกันในนาม “ครูเบล” เปิดใจแก่ทีมข่าว MGR Live ถึงเส้นทางชีวิตในฐานะอดีตนักเรียนมีผลการเรียนเป็นอันดับ 1 ของชั้นติดต่อกัน 3 ปีซ้อน ของโรงเรียน Tampines Secondary School ประเทศสิงคโปร์ ตลอดจนเกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาวิชาชีววิทยา Mahidol University International College (MUIC)

ยิ่งไปกว่านั้น เธอคือผู้หญิงคนแรกที่ได้รับทุนถึง 16 ทุน แลกเปลี่ยน 10 ประเทศ ภายในระยะเวลา 5 ปี และปัจจุบันกลายเป็นครูติวสอบการเรียนต่อประเทศสิงคโปร์ระดับแนวหน้าของประเทศไทย

ทว่า…กว่าที่เธอจะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เธอยอมรับว่าในอดีตตนเองเคยเรียนไม่เก่งถึงขั้นรั้งท้าย ซึ่งเมื่อครั้งที่เธอเดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสิงคโปร์ ช่วง 3 เดือนแรกในบ้านหลังใหม่ ด้วยอุปสรรคด้านภาษา ประกอบกับความขี้อาย แม้แต่สั่งอาหารก็ยังไม่กล้า ทำให้เธอไม่ได้กินอะไรจนน้ำหนักลดไปถึง 13 กิโลกรัม

โดยบทสัมภาษณ์นี้จะพาไปรู้จักครูเบลแบบเจาะลึก พร้อมเผยเคล็ดลับเรียนให้เก่งระดับท็อปอย่างหมดเปลือก!

“แม่ส่ง 3 พี่น้องไปเรียนที่สิงคโปร์ ก็คือส่งคนโตไปก่อน แล้วก็เบล แล้วก็คนเล็ก ไปคนละช่วงเวลา ที่ส่งไปสิงคโปร์คือ 1. สิงคโปร์มีการศึกษาที่ดีระดับโลก 2. ใกล้ 3. ถูก ไปเรียนต่างประเทศถ้าเราเทียบกับอังกฤษ สิงคโปร์ถูกกว่าครึ่งนึง แล้วการศึกษาดีระดับโลก แต่ข้อเสียคือมันเข้ายาก

ตอนนั้นไปพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วเพื่อนก็เป็นเพื่อนใหม่ทั้งหมด พูดไม่ได้ขนาดที่ว่าเราไม่กล้าไปสั่งอาหารที่โรงเรียน ตอนที่ไป 3 เดือนแรก น้ำหนักลดไป 13 กิโล เพราะว่าไม่กล้าไปพูดกับเขาว่าเราต้องการอะไร แล้วก็ไม่กล้าถามว่ามันเท่าไหร่ พอผ่านไป 3 เดือน ก็คิดว่าเราต้องกินข้าวบ้างนะ ก็เลยต้องชี้ว่าเอาอันนี้ พกเงินมาแล้วให้เขาเลือก เท่าไหร่ก็หยิบไป เด็กทุกคนย้ายประเทศต้องใช้เวลาปรับตัวหมด”

แม้ตอนที่ย้ายไปศึกษาต่อช่วงแรกจะสื่อสารไม่ได้ อีกทั้งต้องเข้าเรียนทันทีโดยไม่มีการปรับพื้นฐาน แต่ด้วยสถานการณ์ที่บังคับ ทำให้เธอต้องเร่งปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ให้ได้โดยเร็ววัน

“จากประสบการณ์ของเบล ตอนไปเบลเข้าโรงเรียนเลย คือเด็กเรียนรู้เร็ว เด็กทุกคนจะฟังออกพูดได้ภายใน 3-6 เดือน ถ้าเขาไปจากศูนย์ เพราะเขาถูกบังคับโดยสถานการณ์ให้ฟังทุกวัน พูดทุกวัน แต่ถ้าผู้ใหญ่อาจจะต่างกันตรงที่ว่า ไม่กล้าพูด ไม่กล้าเอาคำศัพท์ไปใช้

แต่ถ้าเป็นเด็กเราไม่คิดมาก และจะมีเพื่อนที่โรงเรียนที่คอยมาคุยกับเรา ถ้าเราไม่คุยกับเพื่อนเลยเราก็จะไม่มีเพื่อน โดยสถานการณ์มันทำให้เราพูดภาษาอังกฤษทุกวัน ฟังทุกวัน เด็กส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษ ทุกคนที่อยู่สิงคโปร์ต้องพูดภาษาที่ 2 อาจจะเลือกภาษาจีน มาเลย์ หรืออินเดีย เราเลือกเป็นจีน

เบลไปตอน ป.4 ได้เรียนในโรงเรียนที่เป็นภาษาจีน ซึ่งภาษาจีนเราศูนย์ ภาษาอังกฤษเราก็ศูนย์ (หัวเราะ) เรียนโรงเรียนนี้ภาษาจีนจากศูนย์ดีขึ้นมามาก มันใช้การฝึกฝน ก็ใช้เวลาปรับตัว มาสอบได้ดีตอนขึ้น ม.1 เพราะตอนแรกยังจับทางไม่ถูกว่าเขาต้องการอะไร”

เคล็ด(ไม่)ลับปรับเกรด “เห็นหนอ-ได้ยินหนอ-คิดหนอ”

“ตอนไปแรกๆ ก็เป็นช่วงปรับตัว คะแนนก็ยังไม่ดีมาก จนมาเข้า ม.1 คะแนนก็ขึ้นมาเป็นท็อปของโรงเรียน ช่วงนั้นเป็นช่วงที่หาตัวเองแล้วก็เกเร เล่นกับเพื่อน พอกลับมาที่ประเทศไทย แม่ก็พาไปนั่งสมาธิ จับไปเข้าค่าย 3 วัน 2 คืน ในช่วงที่นั่งสมาธิเขาก็สอนให้โฟกัส ให้อยู่กับตัวเอง ให้รู้ว่าทุกนาทีเราทำกิจกรรมอะไรอยู่

พอเบลเอาตรงนั้นมาใช้กับการเรียน อย่างเช่น วันนี้อ่านหนังสือ ก็จะรู้ว่าตรงนี้คืออ่านหนังสือ จากที่เมื่อก่อนเราอ่านหนังสือ 1 ชั่วโมงเท่ากัน แต่เราไม่เคยดูเลยว่า ระหว่างอ่านหนังสือคิดนู่นคิดนี่ ทำจริงๆ แค่นั้นเอง ไม่ได้ทำอะไรเปลี่ยนไป ทำแค่ ณ ช่วงที่เราอ่านหนังสือ ที่เราเรียนอยู่ เรามีโฟกัสกับเวลาตรงนั้น แค่นั้นเองค่ะ”

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าสิ่งที่ทำให้ผลการเรียนของเธอคนนี้เปลี่ยนไปจากอันดับรั้งท้าย กลายมาเป็นท็อปของโรงเรียน เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ทำได้ แถมไม่ต้องลงทุนแม้แต่บาทเดียว นั่นก็คือ การฝึกการสมาธิ ที่ได้มาจากการเข้าค่ายธรรมะ 3 วัน 2 คืนในช่วงปิดเทอม

“ตอนนั้นเบลดื้อ เถียง ไม่ฟัง เราเริ่มเป็นวัยรุ่นแล้ว 12-13 วันๆ เก็บตัวอยู่แต่ในห้อง ต่อจิ๊กซอว์ อ่านหนังสือของตัวเอง แม่เลยรู้สึกว่าต้องทำอะไรซักอย่าง จะส่งเธอไปให้คนอื่นสั่งสอน มันเป็นคอร์สยุวพุทธ 3 วัน 2 คืน

ในนั้นเขาก็จะสอนอะไรหลายๆ อย่าง แต่เราจำได้แค่เรื่องเดียว เขาใช้เลเซอร์แล้วยิงไป มีจุดแดงๆ นี่คือ เห็นหนอ ได้ยินหนอ คิดหนอ เขาพูดอยู่แค่นี้เอง แต่เบลว่าทั้งห้องอาจจะไม่ใช่ทุกคนเก็ทแมสเสจนี้ เขาอาจจะพูดเป็นร้อยแมสเสจใน 3 วัน คุณเก็ทกับอะไรก็เอาไปใช้ แต่บังเอิญว่าอันนี้มันใช้กับเราแล้วเวิร์ก

เบลจะบอกว่ามันง่ายมากเลยนะที่เราจะทำ การมีสมาธิหรือการรู้ว่า ณ โมเมนต์นั้นเราทำอะไรอยู่ มันใช้การฝึกฝน มันไม่ใช่ว่าแค่ไปแล้วได้ แต่ว่าเบลไปแล้วเอาอันนั้นมาใช้ ใน 3 วัน 2 คืน เขาสอนหลายอย่าง เบลหยิบมาแค่อย่างเดียว คือ ให้มีโฟกัสกับปัจจุบัน มันฟังดูง่าย แต่ว่ามัน Impactful

หลังจากตกผลึกสิ่งที่ได้จากค่ายธรรมะมาเป็นแนวทางในการเรียนและการดำเนินชีวิต ก็ทำให้ผลการเรียนของเธอคนนี้ก้าวกระโดด จนกลายเป็นอันดับ 1 ของโรงเรียน 3 ปีซ้อน ทั้งที่เป็นเด็กต่างชาติ

อดีตเด็กห้องบ๊วยยอมรับว่า คาดไม่ถึงกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เรื่องนี้นำมาซึ่งความภาคภูมิใจต่อตนเองและครอบครัวเป็นอย่างมาก

เราแค่รู้ตัวว่าเปลี่ยนวิธีการอ่านหนังสือ แต่ผลลัพธ์มันคือได้ที่ 1 ตอนที่ทำได้ก็ไม่ได้คิดว่าเราจะได้ที่ 1แต่เราเป็นเด็กต่างชาติที่ได้ที่ 1 ของทั้งโรงเรียน แสดงว่าเราชนะเด็กสิงคโปร์ ครูเขาก็จะค่อนข้างแปลกใจว่าจากที่คะแนนกลางๆ ล่าง แล้วก็มาจากเด็กห้องสุดท้าย เขาก็เข้ามาดูว่าเราทำอะไรเป็นพิเศษ เราก็บอกว่าเราไม่ได้ทำอะไร เราอ่านหนังสือปกติ

ความจริงที่บ้านก็ค่อนข้างช็อก ตัวเบลเองก็ไม่ได้คิดว่าจะได้ที่ 1 เราก็เอาอันนี้ไปให้ปะป๊า หม่าม้าดู ทุกคนเขาก็รู้สึกภูมิใจนะ จากทั้งชีวิตไม่เคยได้รับเลย เราไม่เคยเรียนเก่งเลย เราแค่เอาอันนี้ทำในปีต่อๆ ไป ตอนเด็กๆ ไม่ได้คิด คิดแต่ว่าทำอันนี้แล้วได้คำชมจากคุณพ่อคุณแม่ ก็แค่ทำแบบนี้ต่อไป ไม่ได้รู้สึกกดดัน

สิงคโปร์สอนให้เราเรียนอะไรมาให้เราใช้กับชีวิต พอเบลเรียนธรรมะ ธรรมะได้สอนว่าอันนี้คือเห็นนะ อันนี้คือได้ยิน เราทำอะไรอยู่ ธรรมะสอนให้เรารู้ว่าเราทำอะไรปัจจุบัน เบลแค่เอาอันนี้มาใช้กับการเรียน ทุกอย่างในชีวิตมันเป็นการเรียนรู้ ให้เราเรียนรู้แล้วเอาอันนั้นมาคิดว่าจะปรับปรุงชีวิตตัวเองยังไง แต่บังเอิญว่าเขาให้เราไปนั่งสมาธิแล้วมันเวิร์ก แล้วทุกอย่างในชีวิตเขาจะดีขึ้นมาเอง”

ไม่ธรรมดา! คว้า 16 ทุน 10 ประเทศ ภายใน 5 ปี

หลังจากที่เบล เรียนจบมัธยมปลายจากประเทศสิงคโปร์ ด้วยความที่เป็นเด็กมั่นใจ กล้าคิด กล้าทำ ประกอบกับมีรางวัลการันตีด้านการศึกษามากมาย จึงมีความฝันที่อยากออกไปท่องโลกกว้าง โดยที่ไม่กลับมาบ้านเกิดแล้ว แต่ความฝันนั้นเป็นอันต้องพับโครงการไปก่อน นั่นก็เพราะผู้สนับสนุนหลักเรื่องเงินอย่างครอบครัวไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้

“เบลจบมา เบลขอหม่าม้าไปเรียนต่อที่สิงคโปร์ เพราะเบลรู้สึกว่าการศึกษาดีมาก เหมาะกับเรา แล้วเราก็เรียนได้ดี เบลจะเข้ามหาวิทยาลัยระดับโลก ไม่กลับมาแล้วเมืองไทย แม่ก็บอกว่าไม่ได้ ต้องกลับมาเมืองไทย เขาอยากให้เรากลับมาพัฒนาประเทศ เขาพูดอย่างนี้เลยนะ เราก็บอกว่า ศักยภาพเรามีระดับโลก เราจะกลับมาทำไม

แต่ว่าเงินทุนเขาเป็นคนส่ง (หัวเราะ) เราก็กลับตามที่เขาสั่ง ตอนนั้นอายุ 16 จบ ม.4 ที่นู่น เท่ากับ ม.6 บ้านเรา เบลก็มาเข้ามหิดลอินเตอร์ เราก็บอกแม่นะว่า ขอเงินหน่อยแม่ เราจะไปเที่ยวรอบโลก ขอซักกี่ล้านดี เบลก็พูดอย่างนี้เลยนะ เพราะเราเป็นเด็ก คิดอย่างเดียว ทำยังไงก็ได้ให้ไปเมืองนอก พูดทีเล่นทีจริง เผื่อฟลุก (หัวเราะ)

ก็บอกว่าเขาไม่ให้ มีลูก 3 คน ถ้าฉันให้เธอไป ก็ต้องให้คนโตกับคนเล็กไปด้วย ฉันไม่สนับสนุน ฉันไม่มีเงินขนาดนั้นหรอก พอขอเงินเขาไม่ให้ เราก็บอกแม่เลยนะ ถ้าหม่าม้าไม่ให้ เบลจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ไปต่างประเทศ แม่ให้มั้ย แต่ไม่ผิดกฎหมายนะ แต่ขอแค่ว่าแม่ให้ไป ไม่ใช่ว่าเบลไปทำแล้ว แล้วแม่ไม่ให้ไป ไม่โอเค แม่ก็บอกว่าโอเค ถ้าเธอไม่ยุ่งกับเงินฉัน ฉันโอเค (หัวเราะ)”

หลังจากผ่านการอนุมัติจากผู้เป็นแม่เป็นที่เรียบร้อย เธอก็พบว่า ทุนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ น่าจะเป็นใบเบิกทางที่ดีและตอบโจทย์ที่สุด เส้นทางการสอบชิงทุนของเบลจึงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่นั้น และแน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกครั้งที่ผลการสอบออกมาตามที่เธอหวัง

“หลังจากนั้น เบลก็เริ่มขอทุน เบลไม่ได้คิดเลยนะว่าจะได้หรือไม่ได้ เบลแค่อยากลองว่าถ้าเราลองดู ซึ่งแน่นอนว่าทุนแรกที่เบลขอเบลไม่ได้ เบลขอทุน UN ไปอังกฤษ ทุนนั้นค่อนข้างใหญ่เลย ติด 3 คนสุดท้ายรอบสัมภาษณ์ รู้สึก High มาก เรื่องของเรื่องมีสิทธิ แข่งมาเป็นร้อยแล้ว แต่ก็รู้แล้วยังไงเราก็ไม่ได้ เพราะว่าอีก 2 คนเก่ง แล้วก็ไม่ได้

กลับมาที่บ้านไม่กินข้าว 2 วัน ไม่คุยกับใครเลย เรารู้สึกว่าอีกนิดเดียวเองมันจะได้ แม่เดินมาแล้วก็บอกว่า “เธอไม่ต้องไปสมัครอะไรแล้ว ถ้าเธอรับกับความผิดหวังไม่ได้ มันไม่ใช่ทุกทุนที่สมัครแล้วเธอจะได้ เขาสมัครกันเป็นร้อย เธอได้ 3 คนสุดท้าย มันก็คือโอเค มันดีแล้ว” พอเขาพูดประโยคนี้มา เราก็คิด แล้วเราก็เหมือนกับ… ไม่ได้ก็ไม่ได้ ช่างมัน ก็เลยไปสมัครทุนใหม่ แล้วมันก็ได้

ตอนที่ไปขอทุนต่างๆ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยดูเกรด เพราะทุกคนเกรดดีอยู่แล้ว ไม่มีอะไรแตกต่าง เทคนิคของเบล คือ คุณต้องรู้จักตัวเองมากพอที่คุณจะสามารถบอกได้ว่านี่คือตัวตนของคุณ คนพวกนี้จะโดดเด่น อีกอย่างเราต้องชำนาญในเรื่องที่เราไปขอ

ทุนที่เบลสมัครเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น ไปปลูกปะการัง ไปอนุรักษ์แมวน้ำ อนุรักษ์ฉลาม ข้อดีก็คือ เบลชอบอยู่แล้ว Portfolio เบลมาด้านนี้ ฉะนั้น เวลาไปสัมภาษณ์มันก็จะโดดเด่นกว่าเด็กคนอื่น เพราะว่าเราชอบ จะตอบคำถามได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันไม่ง่าย ทุกทุนที่เราได้มันก็คือไปไฟต์มา

เพราะความกระหายใฝ่รู้ และไม่หยุดพัฒนาตนเอง หลังจากที่ได้สัมผัสประสบการณ์การได้ทุนไปแลกเปลี่ยนยังต่างประเทศครั้งแรกมาแล้ว ภายในระยะเวลา 5 ปี เธอก็คว้ามาได้อีกรวมแล้ว 16 ทุน ขณะที่กำลังศึกษาปริญญาตรี อีกทั้งไม่กระทบผลการเรียน เพราะเธอเป็นเจ้าของเกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาวิชาชีววิทยา Mahidol University International College (MUIC)

“พอเราได้ไป 1 ทุน เราก็รู้แล้วว่ามันดี มันสนุก เวลาไปทุนเขาจะบอกว่าคุณคือหน้าตาของประเทศ คุณต้องทำตัวดี ทุกครั้งที่เราขึ้นไปพูดบนเวทีมันคือโอกาส ถ้าเราเอามุมมองที่ดีออกไปเผยแพร่ให้ผู้นำเยาวชนในอนาคต เขาก็จะรู้สึกว่าประเทศไทยเก่งนะ ประเทศไทยมีมุมมองแบบนี้ๆ เหมือนเราเอาประเทศไทยไปแสดงให้คนอื่นรู้ ทุกคนจะหันมามองประเทศไทยในมุมที่ดีขึ้น

เอาจริงๆ เด็กคนนึง ส่วนใหญ่ก็เยอะแล้วนะปีนึงทุนนึง 16 ทุนคือทุนที่เราได้ แต่เรายื่นมากกว่านั้น เราไม่ได้ได้ทั้งหมด สมมติทุนที่เรายื่น 70 เปอร์เซ็นต์เราได้ อัตราส่วนที่เบลได้ถือว่าสูง เพราะว่าพอเรายื่น เราจะมีโปรไฟล์ที่ดีขึ้น แล้วเราก็อินกับ Topic นี้ มันก็ง่ายขึ้นที่เขาจะเลือกเราไปเป็นตัวแทนประเทศ มีทุนที่ได้แล้วตัดสินใจไม่ไปก็มี

16 ทุนที่ขอเบลรู้สึกสนุกมากที่ทุกวันต้องมากรอกใบสมัคร แล้วก็รู้สึกว่าต้องมาลุ้น ได้ไม่ได้ ไม่ได้รู้สึกกดกัน รู้แค่ว่าได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร อยู่ที่เดิม ไม่ต้องสมัครทุกทุน เพราะว่าเบลไม่ได้ชอบทุก Topic กว่าคุณจะหาตัวเองเจอต้องใช้เวลา แต่ถ้าคุณชอบแล้ว ผู้ปกครองควรจะสนับสนุนเด็กให้เขาทำ ให้เขาลองดู ไม่เสียหาย ได้ก็คือได้ ไม่ได้แค่ไม่เหมาะ ไม่ได้แปลว่าเราไม่ดี แค่ทุนมันไม่แมชกับเราปีนี้ ปีหน้าไม่แน่ ก็ลองใหม่”

สำหรับเด็กทุนผู้นี้ เธอกล่าวว่า การขอทุนไปด้วยขณะที่เรียนอยู่ ไม่ใช่เรื่องนี้เกินความสามารถของตนเอง ซึ่งหากต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งจริงๆ เธอก็เลือกที่จะขอทุนก่อน เพราะมีระยะเวลาที่จำกัดคืออายุไม่เกิน 25 ปี

“ต้องรู้ว่าเราเรียนเป็นหลัก เราไม่ใช่ขอทุนเป็นหลัก เราต้องจัดให้ถูกว่าชีวิตเราต้องการอะไร บ้านเบลบอกว่าเรียนก่อนนะ เธอเรียนไม่เก่งก็ได้แต่ต้องเป็นคนดี ถ้าเธอเรียนเก่งก็เป็นเรื่องรองลงมา ถ้าเราสมัครทุนแล้วเสียการเรียน เราก็ต้องมาดูว่ามันใช่สิ่งที่เราต้องการในชีวิตมั้ย แล้วคุณพ่อคุณแม่โอเคมั้ย ถ้าเราทิ้งกับการเรียนไปเลยแล้วมาสมัครแต่ทุน มันต้องคิดแต่ละบ้าน

ช่วงที่ไป เบลต้องเรียนมหิดลอยู่ เบลจบภายใน 3 ปี เพราะฉะนั้นในช่วง 3 ปี เบลก็สมัครทุนไปเรื่อยๆ เขาให้เราหยุด 2-3 สัปดาห์ได้ หรือถ้ามากสุดถ้าเป็นทุนวิจัยก็จะเดือนนึง ส่วนตัวไม่ได้มองว่ามันผิด เพราะว่าความคิดเห็นเราเรียนตอนไหนก็ได้ (หัวเราะ) ถ้ามันหนักไปที่จะทำทั้งคู่ ของเบลทำทั้งคู่ ไม่ได้รู้สึกว่าหนักไป เพราะอันนี้เราก็ชอบ

เรื่องเรียนมันก็ไม่ได้ยากมาก ถ้าเราจะเรียนไปด้วย ขอทุนไปด้วย แต่ถ้ามันหนักไปสำหรับเรา เราก็มาจัด อันไหนสำคัญกับเรากว่า เพราะทุนมันมีเวลาจำกัด เราทำได้แค่อายุ 18-25 ปี มันจะจบเยาวชน ตอนเบลเริ่มที่อายุ 20 แต่อายุ 26 แล้ว เราก็ยังเรียนได้

“ครูเบล” แขกรับเชิญในรายการรักเมืองไทย ตอน สอบ AEIS

kru Bell AEIS / S-AEIS

คุณศุภนุช ชือรัตนกุล (ครูเบล)  AEIS Educational Consultant, โดยได้รับเกียรติจากรายการรักเมืองไทย ทางสถานีโทรทัศน์   TNN2 True Visions784   ร่วมพูดคุยและแนะแนวทางการเรียนต่อสิงคโปร์ของเด็ก ว่า เด็กไทยที่ต้องการเรียนโรงเรียนรัฐบาลที่ประเทศสิงค์โปร์ อันดับแรกต้องเข้าสนามสอบที่เรียกว่า Admissions Exercise for International Students (AEIS)  ประตูสำคัญในการไปหาประสบการณ์การศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์

โดยการสอบ AEIS จะมีจัดขึ้นปีละ 2ครั้ง
1) AEIS
สอบรอบเดือนกันยายน เพื่อเข้าเรียน มกราคม  เข้าต้นเทอม
2) S-AEIS
สอบรอบเดือน กุมภาพันธ์ เพื่อเข้าเรียน พฤษภาคม หรือเข้ากลางเทอม

การสอบ AEIS จะเป็นข้อสอบของระดับชั้น ประถม 2 – 5 และมัทยม  1- 3
โดย AEIS จะไม่มีของระดับชั้น ป.6 และ ม.4 เพราะจะมีการสอบใหญ่ที่สิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์จะใช้วิธีให้เด็กจากทั่วโลกมารวมกันแล้วสอบแข่งขัน เพื่อคัดนักเรียนที่ได้คะแนนดี ให้สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลของสิงคโปร์ได้ ซึ่งเด็ก ๆ ในประเทศไทยหลายคนอยากจะไปเรียนที่ประเทศสิงคโปร์ เพราะระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์นั้นถือว่าอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลก

เด็กๆจะใช้เวลาเตรียมตัวทำข้อสอบ AEIS นี้กันประมาณ 6เดือน ถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละคน 

ความยากของการสอบ AEIS / S-AEIS อยู่ที่ 2ปัจจัย

1) เด็กๆไม่คุ้นชินกับระบบสิงคโปร์ เลยไม่รู้จะตอบข้อสอบยังไง อันนี้การเตรียมความพร้อม จึงสัมคัญมากๆ
2) การสอบ AEIS ไม่มีตัวเลขว่า 50 คือสอบผ่าน แต่เค้าจะนับจากที่ว่างที่เค้ามี แล้วเด็กๆคนไหนได้คะแนนเยอะที่สุด ก็ได้ที่ไป แสดงว่าหากปีนั้น มีเด็กเก่งๆไปสอบ AEIS กันเยอะ เราก็ต้อง “make sure” ว่าเราอยู่ในกลุ่มนั้นด้วย 

 สำหรับผู้สนใจเรื่องราวดี ๆ รับชมได้จาก Link นี้ รายการรักเมืองไทย ทางสถานี  TNN2 True Visions784  หรือ https://youtu.be/X1WUA6dZWks

สอบถามข้อมูลจากครูเบล

ผู้ปกครอง และน้องๆ ที่สนใจ สามารถแชทคุยกับครูเบลได้เลยนะคะ

5 เหตุผล ทำไมผปคถึงสนใจให้ลูกหลานเรียนสิงคโปร์

เรียนสิงคโปร์

ครูเบลผู้หญิงเก่ง ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ การเรียนในประเทศสิงคโปร์กว่า 7 ปี

คุณศุภนุช ชือรัตนกุล (ครูเบล)  AEIS Educational Consultant, โดยได้รับเกียรติจากรายการ Thailand Today ทางสถานีโทรทัศ NBT World ร่วมพูดคุยและถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนในประเทศสิงคโปร์ กว่า 7 ปี ว่า เด็กไทยที่ต้องการเรียนโรงเรียนรัฐบาลที่ประเทศสิงค์โปร์ อันดับแรกต้องเข้าสนามสอบที่เรียกว่า Admissions Exercise for International Students (AEIS) ระบบการศึกษาของประเทศ สิงค์โปร์ โดยรัฐบาลประเทศสิงค์โปร์เป็นคนออกข้อสอบเท่านั้น  
ปัจจุบันผู้ปกครองนิยมส่งลูกหลานไปเรียนประเทศสิงคโปร์ เพราะ

 1.สิงคโปร์มีระบบการศึกษาดีติดอันดับโลก

 2.สิงคโปร์ไม่เน้นการท่องจำ แต่เน้นที่ความเข้าใจ และเน้นการใช้แอปพลิเคชั่นในการสอนเพื่อให้เด็กเข้าใจและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 3. เรียนสิงคโปร์ ใกล้ ไปหาง่าย

 4. เรียนสิงคโปร์ แลัว ได้ภาษาจีน 

 5. สิงคโปร์เป็นประเทศที่ปลอดภัย 

เหตุผล 5ข้อหลักๆนี้จึงเป็นเหตุผลที่เด็กไทยไปเรียนสิงคโปร์กันเยอะ
โดยเด็กจะเริ่มไปเรียนที่ประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่ช่วงอายุ 7 ขวบ และมากสุดคืออายุ 15 ปี สำหรับเข้าโรงเรียนรัฐบาลสิงคโปร์ เพราะถ้าเกินกว่านี้ จะเข้ายากมากๆ ผปคหลายๆท่านจึงนิยมให้ลูกหลานไปเรียนสิงคโปร์กันตั้งแต่ยังเล็ก เช่นระดับชั้น ประถม และมัทยมต้น  แล้วถึงกลับมาเรียนต่อที่ประเทศไทยนั้นเอง
ผู้สนใจเรื่องราวดี ๆ รับชมได้จาก Link นี้ รายการ Thailand Today ทางสถานี NBT World
 

ครูเบลแนะไอเดียน.ร.ยุค New Normal

ข่าวสด สัมภาษณ์ ครูเบล 2020
27 มิ.ย. 256316:12 น.
 
 
 

คอลัมน์ สดจากเยาวชน : ครูเบลแนะไอเดีย น.ร.ยุคนิวนอร์มัล

ครูเบลแนะไอเดีย – ระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ถือได้ว่าอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก แต่การที่เด็กไทยจะสอบเข้าโรงเรียนของรัฐบาลสิงคโปร์ได้นั้นเป็นเรื่องยากพอสมควร

หากย้อนไปดูประวัติเด็กไทยที่เคยไปเรียนที่ประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่อายุ 11 ขวบ เริ่มเข้าเรียนตั้งแต่ ป.4 และจบ sec 4 (O-Level) โดยในระดับการศึกษา Sec 1-3 มีผลการเรียนเป็นอันดับ 1 ของชั้นติดต่อกัน 3 ปีซ้อน เธอคือ ศุภนุช ชือรัตนกุล หรือ ครูเบล

ครูเบลแนะไอเดียน.ร.ยุคนิวนอร์มัล

ศุภนุช ชือรัตนกุล

ครูเบล ศุภนุช เล่าว่า ความสำเร็จในวันนั้นมาจากคุณแม่ซึ่งเป็นคนเก่ง มีวิสัยทัศน์ที่ดีและกล้าตัดสินใจ ถ้ารู้ว่าอะไรดีจะพุ่งไปที่เป้าหมายนั้นและวางเส้นทางไว้ให้ลูกๆ รวมถึงตัวเบลเองเนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่ทุกคนต้องพูดภาษาอังกฤษ เราจึงต้องปรับตัวและอยู่กับมันให้ได้

หลังจบการศึกษาที่สิงคโปร์กลับมาศึกษาต่อ ในระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาวิชาชีววิทยา ผลการเรียนเกียรตินิยมอันดับ 1 และได้รับทุนรัฐบาลไทยศึกษาต่อปริญญาโทที่สถาบัน Asian Institute of Technology (AIT) ช่วงที่เรียนสนใจด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงสมัครและรับ ทุนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศถึง 10 ประเทศ และยังได้ร่วมกิจกรรมพิเศษอีกมากมาย

 

“ในยุค New normal ซึ่งส่งผลให้โรงเรียนต้องเลื่อนการเปิดเทอม เด็กนักเรียนและผู้ปกครองเองก็ต้องปรับตัว เบลมองว่าอารมณ์ของเด็กๆ ตอนนี้อยากไปโรงเรียนมาก จะได้เจอเพื่อนๆ ได้เรียนหนังสือ

ครูเบลแนะไอเดียน.ร.ยุคนิวนอร์มัล

ในขณะที่ผู้ปกครองเองก็เริ่มรับมือไม่ไหวที่จะต้องเฝ้าเด็กในช่วงเรียนออนไลน์ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มักอยู่ไม่นิ่ง การเรียนแบบตัวต่อตัวจะช่วยให้เด็กมีสมาธิและจดจ่อกับการเรียนมากกว่า แต่การเรียนออนไลน์จะเพิ่มโอกาสให้เด็กๆ ในต่างจังหวัดเข้าถึงเนื้อหาเท่าเทียมกับเด็กในกรุงเทพฯ หรือในเมืองใหญ่ ทำให้เด็กเรียนกับครูดังๆหรือ รร.ดังๆทั้งในและต่างประเทศได้

ประเทศสิงคโปร์ทำการเรียนออนไลน์แล้วประสบความสำเร็จพอสมควร เพราะทุกบ้านมีอินเตอร์เน็ต ทำให้เด็กๆเข้าถึงเนื้อหาการเรียนได้มากขึ้น แต่ประเทศไทยเราไม่พร้อมในเรื่องเทคโนโลยี เด็กต้องมีอุปกรณ์ที่ดีรองรับการเรียนออนไลน์ได้”

ครูเบลกล่าว และว่า สำหรับการเรียนออนไลน์ ถ้าเด็กเรียนแล้วไม่สนุกหรือไม่จดจ่อกับการเรียน ครูต้องปรับคอนเทนต์เป็นรูปแบบอื่น เช่น วิดีโอ หรือการ์ตูน เพื่อให้เด็กสนใจและสามารถนั่งเรียนต่อเป็นชั่วโมงได้

สำหรับน้องๆ ที่อยากไปเข้าเรียนที่สิงคโปร์ ครูเบลกล่าวว่า “จะบอกและสอนน้องๆ เสมอว่าต้องกล้าตั้งเป้าหมายให้สูงไว้ และส่งเสริมให้เด็กลงมือทำด้วยตัวเอง”

 

สอบถามข้อมูลจากครูเบล

ผู้ปกครอง และน้องๆ ที่สนใจ สามารถแชทคุยกับครูเบลได้เลยนะคะ